ผลกระทบของความชื้นที่มีผลต่อระบบอัดอากาศ

การตรวจสอบค่า dew point ช่วยป้องกันการหยุดทำงานของระบบอัดอากาศ
ผู้ใช้งานอากาศอัดมักคิดว่าอากาศอัดที่ได้จากระบบนั้นสะอาดและแห้งแล้ว แต่ยังมีความชื้นที่มีผลต่อการทำงานและอายุการใช้งานของระบบอัดอากาศ ดังนั้นการควบคุมและตรวจสอบปริมาณความชื้นที่ถูกต้องและแม่นยำด้วยเซ็นเซอร์ dew point จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ความชื้นที่สูงสามารถส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ในระบบอัดอากาศ ทำให้เกิดสนิมและรูพรูนในท่อ รวมถึงส่วนประกอบต่างๆ อาจเกิดการกัดกร่อน และความชื้นยังสามารถชะล้างน้ำมันหล่อลื่นออกจากระบบ ส่งผลให้เกิดความเสียหาย และสึกหรอเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหารและยา ที่นำไปสู่การปนเปื้อนที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน
Vpinstruments ผลกระทบของความชื้นที่มีผลต่อระบบอัดอากาศ Banner

VPVision ประมวลผลผลลัพธ์ทั้งหมดของการไหล ความดัน dew point อุณหภูมิ และการใช้พลังงาน
ซึ่งสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์พฤติกรรมของระบบอากาศอัดได้อย่างต่อเนื่อง

ปริมาณความชื้นและค่า dew point

ปริมาณความชื้นและค่า dew point เป็นสองค่าที่เกี่ยวข้องกัน โดยจุด dew point คืออุณหภูมิที่ไอน้ำในอากาศเริ่มควบแน่น เมื่ออากาศนั้นถูกทำให้เย็นลงที่อัตราส่วนความชื้นและความดันบรรยากาศคงที่ มักใช้ในระบบอัดอากาศ ซึ่งเป็นการตรวจวัดปริมาณไอน้ำในอากาศอัดหรือในแก๊ส นอกจากนี้อุณหภูมิ dew point มักจะถูกตรวจวัดที่ความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศ 6 ถึง 8 เท่า จึงต้องวัดค่าความดันที่ทำให้เกิดการกลั่นตัวของน้ำด้วย โดยค่านั้นเรียกว่า ความดัน dew point ดังนั้นหากอุณหภูมิของอากาศอัด (ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิแวดล้อม) คือจุดความดัน dew point ทันทีที่อุณหภูมิลดลง ความชื้นในอากาศอัดจะควบแน่นและกลั่นตัว ทำให้เกิดน้ำหลายลิตรต่อสัปดาห์เข้าสู่ระบบ

Vpinstruments ผลกระทบของความชื้นที่มีผลต่อระบบอัดอากาศ

ความชื้นที่เกิดขึ้นในระบบเป็นเวลาหลายปี ส่งผลให้เกิดสนิม และการกัดกร่อย ซึ่งอาจอุดตันท่อทั้งหมดได้

สาเหตุของปัญหาความชื้น
ปัญหาด้านความชื้นมีหลายสาเหตุ ซึ่งก่อให้เกิดน้ำบริเวณอุปกรณ์แยกน้ำ / อุปกรณ์แยกน้ำออกจากน้ำมันที่อยู่ด้านหลังเครื่องอัดอากาศ อันเกิดจากปัญหาเชิงกล เช่น ลูกลอยค้าง (หากไม่สังเกตเห็น น้ำจะไหลเข้าสู่ระบบและถังบัฟเฟอร์ได้) การอุดตันของระบบระบายความร้อน การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องทำลมแห้งที่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิแวดล้อม เช่น หากเครื่องทำลมแห้งแบบทำความเย็นสามารถทำให้อากาศอัดเย็นลงจนถึง dew point ที่ 50°F แต่ในช่วงฤดูหนาวและช่วงเย็น อุณหภูมิแวดล้อมในท่อลงลดถึง 40°F ซึ่งอุณหภูมิที่ลดลงเพียง 10 องศานั้น ก่อให้เกิดการควบแน่นกลายเป็นน้ำในระบบประมาณ 1.45 แกลลอนในช่วงเวลา 40 ชั่วโมง และด้วยการผลิตต่อเนื่องกัน 24 ชั่วโมงในทุกๆวัน ทำให้เกิดน้ำในระบบถึง 6 แกลลอน ด้วยการตรวจวัดค่า dew point ด้านหลังเครื่องทำลมแห้ง ทำให้สามารถค้นพบสาเหตุได้อย่างรวดเร็ว และดำเนินการแก้ไขได้ทันเวลา ดังนั้นอุณหภูมิแวดล้อมจึงเป็นอีกพารามิเตอร์หนึ่งที่จะต้องคำนึงถึงในระบบอัดอากาศด้วย
การติดตั้งเครื่องวัด Dew Point
เซ็นเซอร์วัดค่า dew point แบบที่มีกระจกอยู่ภายใน, แบบประจุไฟฟ้า และแบบฟิล์มโพลิเมอร์ เป็นเครื่องมือสามชนิดที่รู้จักกันเป็นอย่างดีสำหรับการตรวจวัดค่า dew point อย่างไรก็ตาม เซ็นเซอร์โพลิเมอร์แบบตัวเก็บประจุมีการป้องกันฝุ่นและสิ่งสกปรกได้ดีที่สุด ไม่ไวต่อการควบแน่น มีความเสถียรในระยะยาว มีประสิทธิภาพและราคาจับต้องได้ การเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้าของเซ็นเซอร์เมื่อสัมผัสกับความชื้น จะแสดงค่าเป็นองศาเซลเซียสหรือฟาเรนไฮต์ และนอกจากนี้เซ็นเซอร์ VP Dew Point ยังมีระบบทำความร้อนภายในตัวเซ็นเซอร์ซึ่งทำให้เซ็นเซอร์คืนสู่สภาพเดิมอย่างรวดเร็วหลังจากสัมผัสกับความชื้นเป็นเวลานาน
Vpinstruments ผลกระทบของความชื้นที่มีผลต่อระบบอัดอากาศ 01
การทำงานของเครื่องส่งสัญญาณ VP Dew Point ขึ้นอยู่กับเซ็นเซอร์โพลิเมอร์แบบตัวเก็บประจุ ซึ่งทนทานต่อฝุ่นและสิ่งสกปรก ไม่ไวต่อการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ และมีความเสถียรในระยะยาวสำหรับการติดตั้งเซ็นเซอร์วัดค่า dew point ในระบบอัดอากาศ ทั้งในเรื่องจำนวน และตำแหน่งที่ควรติดตั้งถือเป็นประเด็นสำคัญอีกจุดหนึ่ง ซึ่งตำแหน่งที่ดีที่สุดสำหรับการติดตั้งคือบริเวณหลังเครื่องทำลมแห้งและถังแห้ง เนื่องจากตำแหน่งนี้จะเป็นการตรวจสอบการทำงานของเครื่องทำลมแห้ง นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งเซ็นเซอร์ไว้ด้านหลังถังแห้งได้ แต่ควรคำนึงถึงความหน่วงของสัญญาณการตรวจวัดด้วย หากมีเครื่องทำลมแห้งสองเครื่องขึ้นไป แนะนำให้ติดตั้งเซ็นเซอร์วัดค่า dew point หลังเครื่องทำลมแห้งแต่ละเครื่อง และหากใช้เซ็นเซอร์เพียงตัวเดียวในท่อหลักที่นำไปสู่ถังบัฟเฟอร์ จะไม่สามารถระบุได้ว่าเครื่องทำลมแห้งเครื่องใดเกิดปัญหาขึ้น ควรติดตั้งเซ็นเซอร์วัดค่า dew point เพิ่มเติมในสายการผลิตของกระบวนการ หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับค่า dew point จะได้สามารถดำเนินการแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีและหลีกเลี่ยงการหยุดทำงานของกระบวนการผลิตซึ่งมีต้นทุนที่สูง
การตรวจวัดค่าแบบ combine

เพื่อระบุสาเหตุของค่า dew point ที่มีการเบี่ยงเบนอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องตรวจวัดเพิ่มเติม การติดตั้งเซ็นเซอร์ VPFlowScope แบบ 3-in-1 หลังเครื่องทำลมแห้ง ทำให้สามารถวัดการไหลของมวล ความดัน และอุณหภูมิได้อีกด้วย ทันทีที่ค่า dew point สูงขึ้น จะสามารถทราบได้อย่างรวดเร็วว่า อะไรคือสาเหตุ เช่น อุณหภูมิขาเข้าของเครื่องทำลมแห้งแบบทำความเย็นสูงขึ้น หรือมีอัตราการไหลสูง การลดลงของอัตราการไหล และแรงดัน ยังสามารถบ่งชี้ได้ว่าเครื่องทำลมแห้งเครื่องใดมีการปนเปื้อนภายใน ในขณะที่การตรวจวัดอัตราการไหลยังสามารถใช้เพื่อตรวจสอบระดับการรั่วไหลได้ ซึ่งมีความสำคัญเนื่องจากนอกเหนือจากการสูญเสียพลังงานแล้ว น้ำจากการควบแน่นของอากาศสามารถไหลกลับเข้าสู่ท่อผ่านรูรั่ว

นอกจากนี้ยังสามารถตรวจวัดเพิ่มเติมเพื่อแสดงการสูญเสียแรงดันในการติดตั้งเครื่อทำแห้งและตัวกรอง เพื่อใช้สามารถคาดการณ์ช่วงเวลาของการเปลี่ยนตัวกรองได้อย่างแม่นยำ ด้วยการตรวจวัดร่วมกันกับพารามิเตอร์อื่นๆ ประสิทธิภาพของเครื่องทำลมแห้งสามารถคำนวณและเปรียบเทียบกับเครื่องทำลมแห้งอื่นๆ รวมทั้งสามารถใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาได้อีกด้วย

การเลือกเครื่องทำลมแห้ง

สำหรับการประหยัดพลังงาน สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาค่าความดัน dew point และ ทำให้อากาศทั้งหมดเย็นลงจากส่วนกลาง การทำให้อากาศแห้งแบบด้วยเครื่องทำลมแห้งหน่วยเล็กๆ แยกกันในแต่ละกระบวนการก็เป็นอีกตัวเลือก บ่อยครั้งที่ผู้ใช้งานละเลยความปลอดภัยของอากาศที่แห้งเกินไป โดยมีค่าความดัน dew point ที่ทำเกินไป อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเหล่านี้ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็น แนวทางในการพิจารณาค่า dew point ที่ถูกต้องคือมาตรฐาน ISO 8573-1:2010 โดยค่า dew point แบ่งออกเป็น 7 คลาส คือ คลาส 0 ถึง คลาส 6 ซึ่งคลาส 0 เป็นคลาสที่ดีที่สุด และใช้ในกรณีเฉพาะเท่านั้น เช่น เมื่อจำเป็นต้องใช้อากาศอัดในห้องคลีนรูม คลาส 1 มีค่าความดัน dew point ที่ -94 °F และคลาส 6 ที่ +50 °F

การตรวจวัดและวิเคราะห์อย่างเหมาะสม ช่วยให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก ทั้งระหว่างการติดตั้งเครื่องทำลมแห้งใหม่และการดำเนินการภายหลัง ยกตัวอย่างเช่น การใช้พลังงานของเครื่องทำลมแห้งแบบทำความเย็นอยู่ที่ประมาณ 0.8 กิโลวัตต์/100 CFM ในขณะที่เครื่องทำลมแห้งแบบดูดความชื้นต้องการพลังงานมากกว่าประมาณห้าเท่า นั่นคือประมาณ 3 ถึง 4 กิโลวัตต์/100 CFM
ถังเปียกและถังแห้ง
แนะนำให้ติดตั้งถังเปียกที่ฝั่ง downstream ของเครื่องอัดอากาศและบริเวณฝั่ง upstream ของเครื่องทำลมแห้ง และให้ติดตั้งถังเก็บอากาศแห้ง แยกออกมาจากส่วน downstream ของเครื่องทำลมแห้ง วิธีนี้จะช่วยป้องกันการโอเวอร์โหลด และยังทำให้สามารถปรับขนาดของเครื่องทำลมแห้งตามปริมาณการไหลเฉลี่ยแทนการความต้องการใช้สูงสุด เป็นผลให้สามารถเลือกเครื่องทำลมแห้งขนาดเล็กลงได้ นอกจากนี้ถังสำรองยังช่วยให้แรงดันของระบบคงที่มากขึ้น และส่งผลดีต่อขนาดและการควบคุมเครื่องอัดอากาศอีกด้วย
การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ
สำหรับการติดตั้งระบบอัดอากาศเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด คือติดตั้งแบบถาวรเพื่อตรวจติดตามระบบแบบ real-time ซึ่งการตรวจวัดจุด dew point ร่วมกับอัตราการไหล ความดัน อุณหภูมิ และพลังงาน VPVision สามารถใช้แสดงพฤติกรรมของระบบที่สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ความผันผวนในฝั่งอุปสงค์ ค่า dew point และอุณหภูมิของเครื่องอัดอากาศที่สูงเกินไป ทุกค่านี้สามารถแสดงเป็นภาพรวมและมีการแจ้งเตือนหากเกิดความผิดพลาด นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลที่สามารถใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษา และเพื่อตัดสินใจในการลงทุนในส่วนของอุปกรณ์ ลดต้นทุนการบำรุงรักษา และป้องกันการสูญเสียผลิตภัณฑ์รวมถึงการหยุดกระบวนการผลิต
Vpinstruments ผลกระทบของความชื้นที่มีผลต่อระบบอัดอากาศ 02
เทคโนโลยีเซนเซอร์อัฉริยะ VP Dew Point Sensor
ช่วงการวัดกว้างถึง -70..+60 ⁰C ใช้งานได้กับเครื่องทำลมแห้ง ทั้งชนิด refrigerant และ desiccant มีสัญญาน output และไฟแจ้งเตือน
  • ช่วงการวัดกว้าง: -70…+60⁰C
  • ให้ค่าการวัดที่เสถียรตลอดช่วงการวัด
  • มีไฟ LED แจ้งเตือน
  • มีระบบ Auto-calibration
  • ทนต่อสภาวะอากาศชื้น และมีความทนทานสูง
  • มีสัญญานขาออกทั้ง RS485 และ 4…20 mA

สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อ : คุณปทิตตา โทร. 088-924-9644 หรือ 092-258-1144 หรือ Line ID : @entechsi

Social Share