ก๊าซชีวภาพผลิตจากของเสียกล่าวได้ว่ามีความเหมาะสมที่สุดในกลุ่มพลังงานทดแทน สำหรับประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน จึงเหมาะสมสำหรับจุลินทรีย์ผลิตก๊าซชีวภาพ มีวัตถุดิบที่เหมาะสมต่างๆในปริมาณมาก ได้แก่ น้ำเสียจากอุตสาหกรรมเกษตร, กากเหลือทิ้งการเกษตร และมูลสัตว์ จุดด้อยของระบบหมักผลิตก๊าซชีวภาพ ได้แก่ มีอัตราการผลิตก๊าซต่ำ เนื่องจากจุลินทรีย์กลุ่มไม่ใช้ออกซิเจนมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ ส่งผลทำให้ต้องสร้างระบบก๊าซชีวภาพที่มีขนาดใหญ่ นำไปสู่ค่าก่อสร้างระบบที่สูงมาก มีความบอบบางและเสียสมดุลได้ง่าย จึงส่งผลทำให้การควบคุมระบบยุ่งยาก
ได้พบว่ามีการสูญหายจนมีไม่พอเพียงในระบบก๊าซชีวภาพของสารบางสารในกลุ่มสารอาหาร ที่ต้องการในปริมาณน้อย (Micronutrients) เช่น Fe, Ni, Co, Zn, Cu, Mn, Mo เป็นต้น (โดยสารอาหารที่ต้องการในปริมาณน้อยเหล่านี้ กลุ่มจุลินทรีย์นำไปใช้ในการผลิตน้ำย่อย, การสังเคราะห์โปรตีน และควบคุมการโอนถ่ายสารต่างๆเข้าออกผนังเซลของจุลินทรีย์) จากผลงานวิจัยเราได้ค้นพบวิธีการทำให้สารอาหารที่ต้องการในปริมาณน้อยไม่ขาดแคลนในระบบก๊าซชีวภาพ ซึ่งจะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพสูงขึ้น (70-120%) ได้แก่ การเติมสารอาหารที่ต้องการในปริมาณน้อยที่ขาดให้กลับมามีเพียงพอ การเติมสาร FeCl3 การเติมสารคีแลนท์ (Chelation) การเติมออกซิเจนหรืออากาศในปริมาณจำกัด (Microaeration)
ประโยชน์ของนวัตกรรมในการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการผลิตก๊าซชีวภาพ
- เพิ่มอัตราในการผลิตก๊าซทำให้มีปริมาณ CH4ในระบบสูง
- กำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณก๊าซ CH4 เพิ่มขึ้น
- ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัด H2S ในระบบรวมถึงการบำรุงรักษา
- มีระบบติดตาม – แจ้งเตือนสถานะการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เกิน 2 ปี
- ข้อมูลในระบบมีความน่าเชื่อถือ และปลอดภัย
ประโยชน์ของระบบ Entech Connect Platform
ENTECH-Connect Platform
- ติดตาม – แจ้งเตือนสถานะการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- ลดเวลาในการทำงานของพนักงานในการจดบันทึกและรวบรวมข้อมูล
- โปรแกรมสามารถดูค่าย้อนหลังได้ หลากหลายรูปแบบ
- โปรแกรมสามารถทำรายงาน นำข้อมูลออกมาในรูปแบบ CSV หรือ PDF ได้
- ข้อมูลในระบบมีความน่าเชื่อถือ และปลอดภัย
- อุปกรณ์ง่ายต่อการติดตั้งใช้งาน ราคาคุ้มค่าต่อการลงทุน
ประโยชน์ของเครื่องวิเคราะห์ไบโอแก๊สแบบต่อเนื่อง
เครื่องวิเคราะห์ไบโอแก๊สแบบต่อเนื่อง
- สามารถตรวจวัดก๊าซได้สูงสุด 5 ชนิดก๊าซ
- วัดได้สูงสุด 4 จุดตรวจวัด ช่วยปรับปรุงการผลิตก๊าซชีวภาพได้ทั้งก่อนและหลังระบบกำจัด H2S
- ภายใต้มาตรฐานการผลิต และสอบเทียบด้วยห้องปฏิบัติการมาตรฐาน ISO/IEC 17025
- ได้รับการรับรองมาตรฐาน ATEX, IECEx สามารถติดตั้งและใช้งานในพื้นที่เสี่ยงต่อการระเบิดได้
- มาตรฐานการกันน้ำ และฝุ่นละออง ระดับ IP65 สามารถติดตั้งภายนอกอาคารได้
- มีระบบการกำจัดน้ำออกจากก๊าซชีวภาพก่อนการนำไปวิเคราะห์ค่า
- สัญญาณขาออกมีทั้งแบบ analog ได้แก่ 4-20 mA และสัญญาณ Digital ได้แก่ Modbus และมี Relay Alarm
- จอแสดงผล เป็นหน้าจอสี
- รับประกันคุณภาพตัวเครื่อง 1 ปี พร้อมหลักฐานการเป็นตัวแทนจำหน่ายโดยตรงจากผู้ผลิต เพื่อประโยชน์ในด้านการบริการหลังการขาย
ประโยชน์ของเครื่องวิเคราะห์ออกซิเจน (Oxygen Analyzer)
เครื่องวิเคราะห์ออกซิเจนแบบต่อเนื่อง ช่วยให้โรงงานสามารถจัดการปริมาณออกซิเจนในระบบผลิตก๊าซชีวภาพ และตรวจสอบปริมาณออกซิเจนได้แบบเรียลไทม์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเชื้อจุลินทรีย์ภายในบ่อหมัก และดำเนินการปรับปริมาณออกซิเจนให้สอคล้องกับปริมาณเชื้อภายในเพื่อให้เกิดการผลิตก๊าซมีเทนในปริมาณที่สูงขึ้น และช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการ
เครื่องวิเคราะห์ออกซิเจน (Oxygen Analyzer)
- สามารถวิเคราะห์ออกซิเจนได้หลายช่วง ได้แก่ 0-10 ppm 0-50 ppm 0-100 ppm 0-500 ppm 0-1000 ppm 0-5000 ppm 0-1.0% 0-5.0% 0-10.0% และ 0-25.0%
- อัตราการไหลที่แนะนำ 0.05 – 1.0 Lpm
- สามารถวิเคราะห์ที่ความดันก๊าซ 0.03 – 10.3 bar
- เซ็นเซอร์เลือกได้ 2 ชนิด คือ T-2 สำหรับสภาวะที่มี H2S น้อยกว่า 10 ppm และ T-4 สำหรับสภาวะที่มี H2S น้อยกว่า 500 ppm
- การตอบสนอง (T90) ที่ <25 วินาที สำหรับช่วง 0.0-10 ppm และ <10 วินาที สำหรับช่วง 10 ppm – 25.0%
- ความสามารถในการทำซ้ำ ±1% หรือ ±0.2 ppm (whichever is greater)
- สามารถใช้งานได้ในพื้นที่อันตราย Class I, Division 1 Group B, C, D, T4 –32°C ≤ Tamb ≤ 46°C
- มาตรฐานการกันน้ำ และฝุ่นละออง ระดับ IP54
- ประกอบด้วยระบบดึงตัวอย่างที่สมบูรณ์ ได้แก่ เครื่องวัดอัตราการไหล วาล์วควบคุมการไหล เซ็นเซอร์วัดความดัน และวาล์ว 3 ทาง (Sample/Span/Off)
ประโยชน์ของเครื่องตรวจวัดอัตราการไหลของอากาศ (Air flow meter)
เพื่อให้สามารถตรวจวัดอัตราการไหลของอากาศและก๊าซได้อย่างแม่นยำ จำเป็นต้องมีพารามิเตอร์ที่ถูกต้อง สำหรับเซ็นเซอร์วัดอัตราการไหล การวางแนวที่สัมพันธ์กับทิศทางการไหลเป็นสิ่งสำคัญต่อการตรวจวัด การเลือกเซ็นเซอร์ที่เหมาะสมยังขึ้นอยู่กับก๊าซที่จะตรวจวัดอีกด้วย ฝุ่นและก๊าซบางชนิดจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการตรวจวัด และทำให้ต้องบำรุงรักษาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในพื้นที่ที่อาจเกิดอันตรายจากการระเบิด จำเป็นต้องเลือกใช้เซ็นเซอร์ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน ด้วยหัววัดแบบดรัมเบลที่ได้รับการจดสิทธิบัตรทำให้ตรวจวัดได้แม้ในพื้นที่ที่มีฝุ่นมาก โดยไม่ส่งผลต่อค่าการวัดที่ได้ นอกจากนี้ตัวเซ็นเซอร์ยังมีรุ่น ATEX Zone 2 ซึ่งได้รับการรับรองให้สามารถใช้งานในพื้นที่อันตราย รวมถึงมีสารเคลือบป้องกันพิเศษสำหรับก๊าซที่มีฤทธิ์กัดร่อนอีกด้วย
เครื่องวัดการไหลของอากาศ (Air flow meter)
- สามารถวัดอัตราการไหลของอากาศได้ในช่วงอัตราเร็ว 0…2.5 / 10 / 20 / 40 / 60 m/s
- สามารถวัดอัตราการไหลของอากาศที่มีอุณหภูมิสูงถึง 200 °C และความดัน 16 บาร์
- ค่าความถูกต้องของการวัดเท่ากับ ± 3%
- คอนโทรลเลอร์สามารถคำนวณความเร็ว (m/s) เป็นอัตราการไหลเชิงปริมาตร (m3/h) ได้
- ใช้สำหรับตรวจวัดอากาศสะอาด, ก๊าซไนโตรเจน, หรือก๊าซอื่นๆ